volleyball Sponsored

รู้จัก วอลเลย์บอลถ้วย ก กับปีที่ 8 บนแผ่นดินศรีสะเกษ – บทความวอลเลย์บอล

volleyball Sponsored
volleyball Sponsored

วันที่ 13-17 สิงหาคม 2563 จะเป็นการกลับมาแข่งขันกันอีกครั้งของวอลเลย์บอล “ซีเล็ค” ประชาชน ก ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ที่ จ.ศรีสะเกษ

และนับว่าเป็นการแข่งขันรายการใหญ่ที่สุดของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย และยังเป็นรายการชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

วอลเลย์บอลประชาชน ก หรือ ถ้วย ก คือการแข่งขันวอลเลย์บอลถ้วยใบแรก ๆ ของสมาคมฯ ที่จัดแข่งขันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนจำไม่ได้แล้วว่า ครั้งแรกของรายการนี้มีขึ้นเมื่อใด

แต่เท่าที่คาดการณ์ น่าจะไม่ต่ำกว่า 40 ปี หรือมากกว่านั้น

วอลเลย์บอลถ้วย ก จะเป็นรายการแข่งขันสำหรับรุ่นประชาชนทั่วไป ที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมทำการแข่งขันได้ โดยไม่จำกัดคุณสมบัติของนักกีฬา และไม่จำกัดเรื่องของอายุ

วอลเลย์บอลถ้วย ก คือรายการอะไร

สมาคมฯ มีการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลในรุ่นอายุต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฯ เอง ไม่ว่าจะเป็น รุ่น 12, 14, 16, 18 ปี ส่วนชื่อการแข่งขันก็ขึ้นอยู่ตามผู้สนับสนุนของแต่ละรายการ

จากนั้น สมาคมฯ จะมีการแข่งขันที่ได้ “ซีเล็ค” มาเป็นผู้สนับสนุน จะครอบคลุมการแข่งขันทั้งในรุ่นเยาวชน และประชาชน รวมถึงวอลเลย์บอลชายหาด นั่นคือวอลเลย์บอล “ซีเล็ค” เยาวชนชาย-หญิง, วอลเลย์บอลชายหาด “ซีเล็ค” และ วอลเลย์บอล “ซีเล็ค” ประชาชนชาย-หญิง

ซึ่งในรายการประชาชน ก็จะแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ระดับ คือ ถ้วย ก และถ้วย ข หรือเข้าใจง่าย ๆ คือ วอลเลย์บอลในดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 นั่นเอง

วอลเลย์บอลถ้วย ข ในยุคปัจจุบัน สมาคมฯ เปิดให้ทีมที่สนใจ สมัครมาเข้าร่วมการแข่งขันได้ตามปกติ ทว่ากำหนดให้นักกีฬาที่จะเข้าร่วมแข่งขัน จะต้องไม่เป็นนักกีฬาที่อยู่ในรายชื่อของทีมชาติไทยชุดใหญ่ และต้องไม่มีชื่อในการแข่งขันวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก ในฤดูกาลนั้น ๆ

รวมถึงจะต้องไม่เป็นนักกีฬา ที่ได้แชมป์ และรองแชมป์ ของวอลเลย์บอลถ้วย ข ในปีการแข่งขันที่แล้วอีกด้วย

ซึ่งนับว่าถ้วย ข มีข้อจำกัดค่อนข้างเยอะ สำหรับนักกีฬาที่จะเข้าแข่งขัน ทว่าก็เป็นรายการที่เปิดโอกาสให้กับประชาชนทั่วไป ที่สนใจสามารถเข้ามาแข่งขันกันได้

ส่วนในรายการถ้วย ก จะไม่มีข้อกำหนดดังกล่าว นักกีฬาทั้งทีมชาติ และไทยแลนด์ลีก สามารถลงแข่งขันได้ รวมถึงไม่จำกัดโควตาเหมือนกับวอลเลย์บอลไทยแลนด์ลีก

แต่ทีมที่จะเข้าร่วมแข่งขัน จะมาจากการพิจารณา หรือเชิญ จากทางสมาคมฯ ทว่า 4 ทีมที่จะได้สิทธิอัตโนมัติ จะเป็นทีมที่ได้แชมป์ และรองแชมป์ ของถ้วย ก เมื่อปีการแข่งขันที่แล้ว รวมถึง แชมป์ และรองแชมป์ ของถ้วย ข ในปีการแข่งขันที่แล้ว ด้วยเช่นกัน

เท่ากับว่า วอลเลย์บอลถ้วย ก จะมีทีมเข้าร่วมแข่งขันอย่างน้อย 4 ทีม ส่วนจะมาก หรือน้อยกว่านี้ ขึ้นอยู่กับการตอบรับคำเชิญของแต่ละทีม ว่าจะเข้าไปร่วมแข่งขันหรือไม่

ศรีสะเกษปีที่ 8

นับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา จ.ศรีสะเกษ ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดแข่งขันวอลเลย์บอลถ้วย ก มาโดยตลอด ทั้งความพร้อมในการจัดแข่งขัน รวมถึงการดูแลนักกีฬาในเรื่องที่พัก และยังมีเงินรางวัลให้กับทีมที่เข้าแข่งขัน

รวมถึงปีนี้ ยังเป็นครั้งที่ 5 ที่การแข่งขันถ้วย ก จัดแข่งขันพร้อมกันทั้งทีมชาย และหญิง ที่ผ่านมาคือในปี 2557, 2560, 2561, 2562

นักกีฬามีใครบ้าง

อย่างที่กล่าวไปข้างต้น วอลเลย์บอลถ้วย ก ไม่จำกัดโควตานักกีฬาทีมชาติ หรือไทยแลนด์ลีก ดังนั้นนักกีฬาทั้งหมดในเมืองไทย จะเดินทางไปแข่งขันในสนามวีสมหมายกันอย่างถ้วยหน้า

ประเภททีมหญิง PEA-ศรีสะเกษ คือทีมเต็ง และแชมป์เก่า 8 สมัยติดต่อกัน นำทีมมาโดย นักกีฬาทีมชาติไทย ไม่ว่าจะเป็น ปลื้มจิตร์ ถินขาว, อรอุมา สิทธิรักษ์, วิลาวัณย์ อภิญญาพงศ์, อัจฉราพร คงยศ, ทัดดาว นึกแจ้ง และอีกมากมาย

ส่วนนักกีฬาทีมชาติคนอื่น ๆ อย่าง ชัชชุอร โมกศรี ปีนี้กลับมาเล่นให้กับ นครราชสีมา สังกัดเดียวกันกับไทยแลนด์ลีก ส่วน 3BB นครนนท์ นำโดย พิมพิชยา ก๊กรัมย์, ฑิชากร บุญเลิศ

ทีมชาย 2 ทีมมหาอำนาจ อย่าง กองทัพบก และกองทัพอากาศ ต่างก็มุ่งมั่นจะคว้าแชมป์ให้ได้อีกครั้งในปีนี้

กองทัพอากาศ แชมป์เก่า 3 สมัยติด มีนักกีฬาทีมชาติไทย ไม่ว่าจะเป็น กันตพัฒน์ คูณมี, จักรภพ แสงสี, กฤษฎา นิลไสว, กิตติธัช นุวัตดี หรือนักกีฬารุ่นพี่อย่าง จิรายุ รักษาแก้ว, ธีรศักดิ์ นาคประสงค์

ฝั่ง กองทัพบก นำโดย อมรเทพ คนหาญ, บุญญฤทธิ์ วงศ์ธร, มนตรี พ่วงลิบ, จักรพงศ์ ทองกลาง, อนุตร พรมจันทร์, กฤษฎา สมคะเน

ซึ่งนับตั้งแต่มาแข่งขันที่ ศรีสะเกษ ในฝ่ายหญิง PEA-ศรีสะเกษ ครองแชมป์ได้ทุกปี รวมแล้ว 7 ครั้ง บวกกับ 1 ครั้งที่ได้ในการแข่งขันที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ก็เป็น 8 ครั้ง

ด้านทีมชาย 4 ครั้งที่มาแข่งขันกันที่ ศรีสะเกษ ทีมแชมป์เป็นของ กองทัพอากาศ ทั้งหมด ส่วนคู่ชิงอย่าง กองทัพบก คว้าแชมป์มาได้ 1 ครั้ง ในปี 2559 โดยครั้งนั้นแข่งขันกันที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ถ้วย ก ปี 2563

เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้การแข่งขันต้องมาชิงชัยในช่วงเดือนสิงหาคม

และนับว่าเป็นครั้งแรกของปี กับการแข่งขันของสมาคมฯ ที่ออกมาตบกันที่ต่างจังหวัด คือที่ศรีสะเกษ หลังจากที่ภาครัฐ อนุญาตให้วอลเลย์บอลแข่งขันแบบไม่มีคนดู ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ส่วนในปีนี้แม้จะแข่งขันกันแบบไม่มีคนดู แต่สมาคมฯ ก็เพิ่มความน่าสนใจให้กับการแข่งขันในรายการนี้ ทั้งการมีวิดีโอ ชาลเลนจ์ เข้ามาช่วยทีมเพิ่มความสบายใจในลูกปัญหา ซึ่งเป็นเครื่องมือเดียวกันกับที่ใช้ในไทยแลนด์ลีก รวมถึงมีการบันทึกสถิติของนักกีฬา (VIS) อีกด้วย

ส่วนการถ่ายทอดสด จะมีให้รับชมกันทุกคู่ผ่านทางช่อง Youtube : TVA Channel ของสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย

volleyball Sponsored
วอลเล่ย์บอล

กีฬาวอลเลย์บอลถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1895 โดยนายวิลเลียม จี. มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ กรุงเอเธนส์ โดยเขามีความคิดที่ต้องการให้มีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้งเพื่อออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก

This website uses cookies.